วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ซาวนด์การ์ด Sound Card

ซาวนด์การ์ด Sound Card
Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ถือเป็นอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่นับวันเริ่มมีผู้ให้ความสนใจมากขึ้นทุกวัน เพราะสามารถที่จะสรรค์สร้างพลังเสียงออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยทุกวันนี้การผลิต Sound Card ซาวนด์การ์ด ออกมาให้เราได้ใช้นั้น ล้วนแต่เป็น Sound Card ที่มีคุณภาพที่ดีทั้งสิ้น แต่ก็มีความแตกต่างทางด้านใช้งานพอสมควร ดังนั้นในการเลือกซื้อ ซาวนด์การ์ด นั้น ควรจะต้องดูที่ความต้องการเป็นหลัก

ถ้ามองย้อนหลังไปในอดีต ท่านคงจะทราบถึงการพัฒนาการของ Sound Card ซึ่งเมื่อก่อนในการผลิต Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ออกมาใช้งาน ซาวนด์การ์ด จะมีการผลิตที่ใช้กับสล็อตแบบ ISA ถ้าดูโดยรวมแล้วในการส่งข้อมูลของการ์ดแบบนี้มีการส่งข้อมูลค่อนข้างช้า และขนาดของการ์ดยังมีขนาดที่ใหญ่มาก ซึ่งออกจะใหญ่เทอะทะด้วยซ้ำไป อีกทั้งยังเป็น Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ที่ดึงความสามารถของคอมพิวเตอร์ของท่าน ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านมีการทำงานที่ช้าลง รวมทั้งเสียงที่ได้จากการ์ดแบบนี้ยังมีคุณภาพของเสียงต่ำมากๆ เมื่อเทียบกับ Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผู้คิดค้นการ์ดแบบ ISA นี้
คงผลิตมาเพื่อใช้กับการใช้ร่วมกับคาราโอเกะ หรือการฟังเพลงเล็กๆน้อย แต่ก็นับเป็น Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ที่ได้รับความนิยมมากในขณะนั้น

แต่มาถึงในปัจจุบัน เครื่องมือ เทคโนโลยีต่างๆ ต่างก็มีการพัฒนาขึ้นมาก รวมไปถึง ซาวนด์การ์ด ที่คนรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนารูปลักษณ์ของเจ้า Sound Card นั้นออกมาในลักษณะของการ์ดแบบ PCI ถ้าดูเรื่องขนาดแล้วมีขนาดที่เล็กกว่าการ์ดแบบ ISA มาก อีกทั้งในการส่งข้อมูลยังมีความเร็วที่สูงกว่าด้วย ดึงทรัพยากรภายในเครื่องน้อยลง อีกทั้งยังมีคุณภาพเสียงที่โดดเด่น มีการการกระจายของเสียงที่ดี ซึ่งมีหลายๆอย่างที่ดีกว่าการ์ดแบบ ISA มาก จึงทำให้ในการผลิตการ์ดแบบ ISA นี้ล้มเลิกลง เหตุผลอีกข้อหนึ่งที่ทำให้การ์ดแบบนี้หยุดการผลิตลง เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนี้ที่ทำการผลิตออกมา และตัดสล็อตแบบ ISA นี้ทิ้งไปโดยสิ้นเชิง และมีการเพิ่มสล็อตแบบ PCI ขึ้นมาแทน ซึ่งไม่ว่าเป็นอุปกรณ์อย่างเช่น Card Lan , โมเด็มแบบ Internal หรือแม้กระทั่งการ์ดอื่นๆ ก็มีการผลิตขึ้นมาให้สนับสนุนการใช้งานร่วมกับสล็อตแบบ PCI ทั้งนั้น จึงทำให้การ์ดแบบ ISA นั้นได้หายไปจากคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

นอกจากจะมีผลิต Sound Card แบบ PCI ออกมาใช้งานอย่างกว้างขวางในปัจจุบันแล้ว แต่ก็มีอีกจำพวกหนึ่งที่ไม่ใช้ Sound Card แบบ PCI เนื่องจากยังมีราคาที่สูงอยู่ ซึ่งคนพวกนี้จะหันไปใช้ซาวนด์แบบ Onboard แทน โดยซาวนด์แบบนี้ไม่ใช่เป็นซาวนด์แบบการ์ดที่เราเห็นกัน แต่เป็นเพียงชิปตัวหนึ่งซึ่งอยู่บนเมนบอร์ดของเราที่ทำหน้าที่สร้างเสียงออกมา แต่คุณภาพยังไม่สูงมากเท่ากับ ซาวนด์การ์ด แบบ PCI ชิปซาวนด์แบบนี้เหมาะสำหรับผู้ที่มีเงินในกระเป๋าไม่มากนัก สามารถที่จะใช้เพื่อเล่นเกม ดูหนัง เล็กๆน้อยๆได้ดี แต่สำหรับคนที่มีเงินเหลือใช้มาก การที่ซื้อ Sound Card (ซาวนด์การ์ด) แบบ PCI มาใช้งาน ถือว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่าเป็นอย่างยิ่ง เพราะจะได้สัมผัสพลังเสียงที่สุดยอดของ ซาวนด์การ์ด (Sound Card) แบบนี้ ซึ่งเป็นเสียงที่ทุกคนอยากรับฟัง
การผลิตและพัฒนาของ ซาวนด์การ์ด แบบนี้ จากแต่ก่อนได้มีการผลิตที่สามารถรองรับการทำงานได้ถึง 2 แชนแนล โดยในขณะนั้นถือว่าเรียกเสียงฮือฮาได้อย่างมาก สามารถที่จะสร้างเสียงออกมาได้อย่างไพเราะ สามารถที่จะใช้ร่วมกับลำโพงจำนวน 2 ตัวได้เป็นอย่างดี ยกตัวอย่าง Sound Card Creative SB Vibra 128 ที่โด่งดังมากเมื่อก่อน ซึ่งมีราคาอยู่ประมาณ 1,000 บาท ถือว่ายังเป็นราคาที่แพงอยู่ในขณะนั้น จากนั้นมาก็ได้มีการพัฒนาประสิทธิการใช้ของ ซาวนด์การ์ด ขึ้นเรื่อยๆ จาก Sound Card ที่เป็นแบบ 2.1 แชนแนล พัฒนาเป็น ซาวนด์การ์ด ที่สนับสนุนการทำงานแบบ 4.1 แชนแนล, 5.1 แชนแนล และแบบ 6.1 แชนแนล โดยได้พัฒนาควบคู่กับการพัฒนาของลำโพงแบบต่างๆ ที่สนับสนุนการใช้งานร่วมกับ Sound Card นี้
จนล่าสุดก็ได้มีการผลิต ซาวนด์การ์ด แบบ 7.1 แชนแนลออกมา ถือว่าเป็นสุดยอด Sound Card อยู่ในขณะนี้ นับว่าเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สร้างความฮือฮามากที่สุดในขณะนี้ก็ได้ โดยเฉพาะบุคคลที่ชอบเสียงเพลงเป็นชีวิตจิตใจ หรือแม้กระทั่งนักดนตรีต่างๆ ต่างก็คงรอคอย ซาวนด์การ์ด แบบนี้อยู่เหมือนกัน ซึ่งสามารถให้เสียงที่สมบูรณ์แบบมากกว่าแบบต่างๆที่ได้กล่าวมา


ชนิดของ Sound Card (ซาวนด์การ์ด)
ถ้าเราจะแบ่งชนิดของ Sound Card (ซาวนด์การ์ด) นั้น เราสามารถที่จะแบ่ง Sound Card ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ โดยนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันได้ดังต่อไปนี้
1. Sound Card (ซาวนด์การ์ด) แบบ ISA
Sound Card (ซาวนด์การ์ด) แบบนี้เป็น ซาวนด์การ์ด ที่ผลิตออกมานานแล้ว โดย ซาวนด์การ์ด แบบนี้จะใช้ร่วมกับเมนบอร์ดรุ่นเก่าที่มีสล็อต ISA นี้ติดมาด้วย ถ้ามองกันในเรื่องของระบบเสียงแล้ว ยังไม่สามารถให้เสียงที่มีคุณภาพออกมาได้ แต่ก็ถือว่าเป็น Sound Card ที่โดดเด่นมากในสมัยนั้น แต่ในปัจจุบัน Sound Card แบบนี้ไม่มีให้เห็นกันแล้ว
ตัวอย่าง Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ที่เป็นแบบ ISA

ตัวอย่าง Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ที่เป็นแบบ ISA
2. Sound Card (ซาวนด์การ์ด) แบบ PCI
โดย ซาวนด์การ์ด แบบนี้ถือว่าเป็น Sound Card ที่มีให้เห็นกันมากทั่วไปตามตลาดไอทีในบ้านเรา ซึ่งไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็คงจะเห็น ซาวนด์การ์ด แบบนี้วางขายอยู่อย่างมากมาย อีกทั้งยังสามารถสังเคราะห์เสียงออกมาได้อย่างมีคุณภาพ ทำให้ Sound Card แบบนี้เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งก็มีให้เลือกใช้ตามอัธยาศัย ทั้งที่ราคาถูกจนเหลือเชื่อและที่ราคาแพงมากๆ จนทำให้หลายคนต้องเปลี่ยนความคิดมาใช้ ซาวนด์การ์ด แบบธรรมดาแทน

3. Sound Card (ซาวนด์การ์ด) แบบ External
จริงๆ แล้วเขาแบ่ง Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ออกได้เป็น 2 ประเภท แต่ที่จัด Sound Card แบบ External ออกเป็นประเภทที่ 3 ก็เพราะว่าซาวนด์แบบนี้เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้นแล้ว อีกทั้งยังมีการติดตั้งที่แตกต่างจาก ซาวนด์การ์ด (Sound Card) ที่บอกมาข้างต้นด้วย โดยสามารถที่จะติดตั้งโดยผ่านทางพอร์ต USB ทำให้ในการใช้งานนั้นสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น

พอร์ตต่างๆ ที่มักพบบน Sound Card (ซาวนด์การ์ด)

1. ช่องต่อกับลำโพง ซึ่งมาพร้อมกับส่วนขยายสัญญาณ ( Amplified Speakers )
2. ช่อง Line-In เป็นช่องรับสัญญาณเข้าที่เป็น analog ซึ่งอาจจะเป็นช่องรับสัญญาณข้อมูลเสียจากไมโครโฟน เครื่องเล่นซีดีหรือเครื่องเล่นเทป ฯลฯ
3. ช่อง Line-Out เป็นช่องที่ส่งสัญญาณ analog ออกไปยังอุปกรณ์ต่อเชื่อมต่างๆ ซึ่งจะใช้ในการเชื่อมต่อเข้ากับลำโพงหรือไมโครโฟน
4. ช่องต่อ Digital-In ซึ่งตามปกติพอร์ตนี้ จะติดตอยู่กับตัวการ์ดเลย ซึ่งช่องสัญญาณดังกล่าวจะใช้รับสัญญาณดิจิตอล ที่เห็นส่วนมากคือจะใช้ต่อเข้ากับเครื่อง CD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์
5. ช่องต่อ Digital-Out ช่องนี้จะใช้สำหรับส่งสัญญาณดิจิตอลออกไปสู่อุปกรณ์หรือสื่อบันทึกข้อมูลแบบต่างๆ
6. ช่องต่อ Headphone หรือช่องต่อหูฟัง

จำนวนของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ ที่ได้บอกมาข้างต้นนี้ จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของ Sound Card (ซาวนด์การ์ด) นั้นๆ ยิ่ง Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ที่มีการทำงานในแบบหลายแชนแนล ไม่ว่าจะเป็นแบบ 4.1, 5.1, 6.1 หรือ 7.1 แชนแนล ถ้าพอร์ตที่ได้บอกมานี้มีมากเท่าไร ก็จะทำให้ในการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ สามารถทำได้หลากหลายมากขึ้นเท่านั้น และยิ่ง Sound Card (ซาวนด์การ์ด) รุ่นใหม่ๆ ที่เราเห็นนั้น ได้ผลิตพอร์ตเชื่อมต่อที่แปลกใหม่ออกมาอยู่เรื่อยๆ เช่น พอร์ต Optical In, พอร์ต Optical Out, พอร์ต MIDI (In-Out) ทำให้ Sound Card (ซาวนด์การ์ด) นั้นๆ มีความสามารถที่มากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างพอร์ตคอนเน็กเตอร์ต่างๆ ของ Sound Card (ซาวนด์การ์ด)
ส่วนประกอบหลักๆ และการทำงานในแต่ละชิ้นส่วน
ในการที่ซาวนด์การ์ดจะสามารถสังเคราะห์เสียงออกมาให้เราได้ยินกันนั้น จำเป็นที่จะต้องมีส่วนประกอบหลักๆ อยู่หลายส่วน ซึ่งแต่ละส่วนนั้นจะมีการ ทำงานที่แตกต่างกันออกไปและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ดังนี้

• DSP (Digital Signal Processor) หรือที่เรียกว่า ส่วนประมวลผลสัญญาณดิจิตอล ซึ่งในการทำงานของ DSP นี้นั้น จะเป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลหลักๆ นับว่ามีความสำคัญค่อนข้างมาก


• DAC (Digital-Analog Converter) ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้ในการแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณ analog โดยสัญญาณนี้จะถูกส่งออกไปยังลำโพงที่เราได้ติดตั้งร่วมกับซาวนด์การ์ดนี้ ซึ่งเป็นเสียงที่เราได้ยินกัน






• ADC (Analog-Digital Converter) เป็นส่วนที่มีหน้าที่ในการทำงานที่แตกต่างจาก DAC คือจะทำหน้าที่ใน การแปลงสัญญาณ analog เป็นสัญญาณดิจิตอล โดยจะแปลงสัญญาณที่รับเข้ามาจากช่อง Line In ของซาวนด์การ์ด โดยส่วนมากจะรับสัญญาณมาจากไมโครโฟน

Game Port
• Game Port เป็นพอร์ตเกี่ยวกับเกม โดยใช้ในการเชื่อมต่อเข้ากับ Joystick หรือ Gamepad


ROM (Read Only Memory)
• ROM (Read Only Memory) หรือ Flash Memory ซึ่งในส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลเสียงใน แบบต่างๆ ไว้ในหน่วย ความจำนี้


• MIDI (Musical Instrument Digital Interface) ส่วนนี้จะใช้ในการติดตั้งเข้ากับอุปกรณ์ต่อพ่วงอย่างเช่น คีย์บอร์ด อิเล็กโทน ซึ่งโดยทั่วไปอุปกรณ์พวกนี้สามารถที่จะต่อเข้ากับช่อง Game Port ได้เลย